หลักการ 6 ข้อที่ช่วยทำให้เราสามารถฟังได้ดีขึ้น สามารถจำได้ง่ายๆว่า "LADDER" (บันได)
- L คือ Look at the other person (มองคนพูด)
- A คือ Ask questions (ตั้งคำถาม)
- D คือ Don't interrupt (อย่าขัดคอ)
- D คือ Don't change the subject (อย่าเปลี่ยนเรื่อง)
- E คือ Express emotion with control (ควบคุมอารมณ์)
- R คือ Responsively Listen (แสดงอาการสนใจ)
กฎข้อที่ 1 มองคนพูด (Look at the other person)
การมองตรงไปที่คนพูดเป็นการแสดงให้เห็นว่า มีความสนใจฟังเป็นพิเศษ การมองนี้อาจไม่จำกัดเพียงมองตา ผู้ฟังอาจมองส่วนของใบหน้าก็ได้ เช่น ผม ปาก ลำคอ เป็นต้น
"คนจำนวนมากเคยบอกผมว่า พวกเขาจะไม่ไว้ใจคนที่ไม่สบสายตาพวกเขา ยิ่งกว่านั้นพวกเขายังรู้สึกหวาดระแวงกลัวเล่ห์เหลี่ยม หรือขาดความเชื่อถือคนประเภทไม่กล้าสบสายตาคนอื่น"
การมองหน้าคนพูดยังช่วยให้เข้าใจจุดมุ่งหมายและสาระของคำพูดได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น เพราะมีคำพูดที่สื่อในรูป ภาษากาย อย่างเช่น สีหน้า เป็นต้น
กฎข้อที่ 2 (ศิลปะ) การตั้งคำถาม (Ask questions)
ข้อนี้สำคัญมาก เพราะอาชีพจำนวนมากต้องใช้การตั้งคำถามเป็นเครื่องมือหากิน เช่น นักข่าว จิตแพทย์ แพทย์ ทนาย นักขาย พิธีกร (เช่น คุณสรยุทธ์ , กรรชัย) ผลการทำงานของอาชีพเหล่านี้จะดีหรือไม่ดี ขึ้นกับความสามารถในการตั้งถามให้ผู้อื่นตอบ
คำถามมี 2 แบบ
- คำถามแบบปลายปิด เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบแบบเฉพาะเจาะจง เช่น "คุณชื่ออะไร?" "คุณอายุเท่าไหร่?" "ใช่หรือไม่ใช่?"
- คำถามแบบปลายเปิด จะตรงข้ามกับปลายปิด เพราะเปิดโอกาสให้ผู้พูดพูดได้มากมาย เช่น "คุณเข้ามาทำงานที่ทำอยู่ตอนนี้ได้อย่างไร?"
ตามปกตินั้นคนที่ตอบคำถามแบบนี้จะพูดอย่างน้อย 5 นาทีและมีโอกาสอย่างมากที่จะพูดนานถึง 15 นาที เราสามารถศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการถามได้จากพวกแพทย์ นักกฎหมาย เพราะบุคลเหล่านี้จะไม่สามารถช่วยคุณได้ถ้าพวกเขาไม่ถามคุณสัก 2 หรือ 3 คำถามก่อน
โดยปกติคำถามจะเป็นการถามหาข้อเท็จจริงก่อน จากนั้นจึงถามความรู้สึกนึกคิด ซึ่งโดยส่วนมากคนเราจะชอบอธิบายความนึกคิดของตนให้คนอื่นฟัง การถามแบบนี้จึงเป็นที่พอใจของทั้งคนพูดและคนฟัง เพราะคนฟังได้ทราบ และคนตอบได้พูดสิ่งที่อยากพูด
รูดยาร์ด คิปลิง นักประพันธ์ชื่อก้อง เคยสรุปทักษะการถามด้วยคำพูดที่ว่า "ข้าพเจ้ามีคนรับใช้ผู้ซื่อสัตย์อยู่ 6 คน ความรู้ทั้งหมดในตัวข้าพเจ้าได้รับการถ่ายทอดมาจากพวกเขา ชื่อของพวกเขาคือ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และ อย่างไร"
- ใคร ที่ไหน เมื่อใด เป็นการถามแบบปลายปิด เพื่อคำตอบแบบเฉพาะเจาะจง
- อะไร ทำไม อย่างไร เป็นการถามแบบปลายเปิด เพื่อข้อมูลข่าวสารที่มีรายละเอียดยิ่งขึ้น
** ขอให้ผู้อ่านฝึกฝนการตั้งคำถามทุกวันอย่าได้ขาดและขอให้ยึดถือความช่างถามเป็นนิสัยประจำตัว
หลักการฟังขั้นพื้นฐาน (Part 2)
บทที่ 1 การฟังทะลุกึ๋น-ฟังอย่างไรให้เข้าใจถึงสิ่งที่เค้าต้องการจะบอกได้อย่างเข้าใจถ่องแท้
บทที่ 2 (รู้จัก) ผู้ฟังที่ดี - การเป็นผู้ฟังที่ดีและรู้จักการฟังอย่างถูกต้อง
บทที่ 3 เทคนิคการฟังให้เก่งเป็น 2 เท่า - รู้จักเทคนิคการฟังจับประเด็นถึงสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะบอก
บทที่ 4 อุปสรรคการฟัง - ปัญหาของการฟังที่ทำให้เราไม่ฟังแล้วไม่เข้าใจ
บทที่ 5 หลักการฟังขั้นพื้นฐาน - ทำความเข้าใจแนวทางการฟังให้เกิดผล
บทที่ 6 เคล็ดลับการฟังขั้นสุดยอด - เทคนิคการฟังในระดับขั้นสูง
บทที่ 7 ญาณหยั่งรู้ใจคน - ด้วยภาษาที่สื่ออกมาโดยธรรมชาติของมนุษย์
บทที่ 8 ฟังแล้วดีเอง - เทคนิคการฟังตัดสินกันที่ทัศนคติ
บทที่ 9 การฟังภาคปฎิบัติ - นำเอาความรู้ที่ได้มารวบรวมไปปฎิบัติเพื่อการฟังที่รับรู้และเข้าใจ